1. โครงการสินเชื่อธนาคารประชาชนรูปแบบใหม่ ปล่อยกู้ให้กับพ่อค้า แม่ค้า และวิสาหกิจขนาดย่อม ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ หรือเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ รวมทั้งชำระหนี้อื่นๆ วงเงินรวม 31,000 ล้านบาท ณ วันที่ 31 มีนาคม 2559 ได้อนุมัติสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการรายย่อย 478,987 ราย วงเงิน 40,910 ล้านบาท
2. มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ในระดับหมู่บ้าน ปล่อยกู้ให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง วงเงิน 30,000 ล้านบาท เริ่มดำเนินการเดือนกันยายน 2558 – วันที่ 31 มีนาคม 2559 อนุมัติเงินกู้ให้กองทุนหมู่บ้านฯ แล้ว 25,728 กองทุน วงเงิน 25,570 ล้านบาท
3. โครงการเพิ่มศักยภาพกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (สมัยนายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) ปล่อยกู้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองวงเงิน 20,000 ล้านบาท เริ่มดำเนินการเดือนมิถุนายน 2558 – เดือนมิถุนายน 2560 ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2559 อนุมัติเงินกู้ให้กองทุนหมู่บ้านแล้ว 5,623 กองทุน วงเงิน 9,910 ล้านบาท
4. มาตรการ “แก้ไขปัญหาหนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษา” ปล่อยกู้ครู เพื่อนำเงินไปชำระหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ครู สถาบันการเงินอื่น เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.), ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน เป็นต้น ณ วันที่ 31 มีนาคม 2559 มีครูมาลงทะเบียน 56,606 ราย ขอวงเงินกู้เพื่อนำไปชำระหนี้สถาบันการเงินทั้งสิ้น 78,447 ล้านบาท อนุมัติเงินกู้แล้ว 29,323 ราย วงเงิน 44,135 ล้านบาท
5. มาตรการ “บรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกค้าธนาคาร” พักชำระหนี้ 6 เดือนให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการเมือง เศรษฐกิจ และภัยธรรมชาติ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2559 มีลูกค้ามาลงทะเบียน 95,704 ราย ขอพักชำระหนี้วงเงิน 45,213 ล้านบาท ธนาคารอนุมัติ 47,209 ราย วงเงิน 24,570 ล้านบาท
6. โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่าให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยธนาคารออมสินปล่อยกู้ธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการ 0.1% ต่อปี เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์นำไปปล่อยกู้ต่อให้กับลูกค้าเอสเอ็มอี คิดดอกเบี้ยไม่เกิน 4% ต่อปี ผ่อนชำระหนี้ไม่เกิน 7 ปี โครงการนี้มี 2 เฟส คือ เฟสที่ 1 วงเงินกู้ 100,000 ล้านบาท เริ่มดำเนินการเดือนกันยายน-เดือนธันวาคม 2558 อนุมัติเงินกู้ 11,861 ราย วงเงิน 98,858 ล้านบาท เฟสที่ 2 วงเงินกู้ 50,000 ล้านบาท เริ่มดำเนินการเดือนมกราคม-เดือนมีนาคม 2559 อนุมัติเงินกู้ 9,483 ราย วงเงิน 49,642 ล้านบาท
7. Venture Capital “มาตรการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 8 กันยายน 2558 ให้ธนาคารออมสิน, ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และธนาคารกรุงไทย จัดสรรเงินทุนทุนแห่งละ 2,000 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนร่วมทุน วงเงิน 6,000 ล้านบาท เพื่อเข้าไปร่วมลงทุนกับเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพสูงและมีโอกาสเติบโต ณ วันที่ 31 มีนาคม 2559 ธนาคารออมสินอนุมัติในหลักการเข้าร่วมลงทุนกับเอสเอ็มอีเป้าหมายแล้ว 2 ราย วงเงิน 60 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการหารือกับหน่วยงานพันธมิตรเพื่อจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุนในเอสเอ็มอีอีก 3 กองทุน
8. โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ ให้สำนักงบประมาณจัดสรรวงเงินงบกลาง 35,000 ล้านบาท สนับสนุนเงินทุนให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 79,556 กองทุน กองทุนละไม่เกิน 500,000 บาท เพื่อใช้ในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน และเพื่อดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ที่ชุมชนเห็นว่าเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมศักยภาพในการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ในชุมชนให้ดีขึ้น โดยธนาคารออมสินได้แต่งตั้งตัวแทนจากสาขาของธนาคารเข้าร่วมใน “คณะทำงานดำเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐจังหวัด” (คปจ.) เพื่อพิจารณาโครงการทั้ง 76 จังหวัด และแต่งตั้งผู้แทนธนาคารออมสินเข้าร่วมใน “คณะอนุกรรมการดำเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ (อคป.) เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการฯ
9. โครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบปัญหาวิกฤติภัยแล้ง ปี 2558/59 ผ่านสินเชื่อธนาคารประชาชน และสินเชื่อธุรกิจห้องแถว ธนาคารออมสินได้อนุมัติสินเชื่อไปแล้ว 65,046 ราย วงเงิน 5,045 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีลูกค้าของธนาคารที่ประสบปัญหาภัยแล้งมาลงทะเบียนขอพักชำระหนี้ 2,351 ราย วงเงิน 342 ล้านบาท ธนาคารอนุมัติให้พักชำระหนี้ไป 807 ราย วงเงิน 156 ล้านบาท
10. โครงการ “GSB SMEs Startup” ธนาคารจัดสื่อประชาสัมพันธ์ ชื่อชุด “SMEs Startup Thailand” ผ่านสื่อโทรทัศน์ (TVC), จัดกิจกรรมประกวดแผนธุรกิจมาแล้ว 3 ปี และทำการบ่มเพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (Incubator) ปีละ 100 ราย และจัดโครงการประกวด “ออมสิน สุดยอดแนวคิดพลิกธุรกิจไทย” Startup Thailand by GSB
11. โครงการ “บ้านประชารัฐ” ออมสินจัดสรรวงเงินกู้ 20,000 ล้านบาท ปล่อยกู้ให้กับประชาชนทั่วไป สำหรับซื้อบ้านใหม่หรือบ้านที่สร้างเสร็จพร้อมอยู่ และทรัพย์สินรอการขาย (NPAs) ของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ หรือบ้านมือสอง ที่เข้าร่วมโครงการบ้านประชารัฐเท่านั้น (ที่ดินพร้อมบ้าน หรือห้องชุด) แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องเป็นบ้านหลังแรก หรือจะกู้เพื่อปลูกสร้างบ้าน รายละไม่เกิน 1.5 ล้านบาท รวมทั้งการปล่อยกู้เพื่อต่อเติม/ซ่อมแซมบ้านในที่ดินของตนเองวงเงินกู้ไม่เกิน 500,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ยปีแรก 0% มีคนลงทะเบียนขอกู้ 31,352 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อ 34,528 ล้านบาท ธนาคารอนุมัติสินเชื่อ 1,296 ราย วงเงิน 1,457 ล้านบาท (คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวถึงการปล่อยสินเชื่อตามนโยบายรัฐว่าไม่มีผลกระทบต่อธนาคาร โดยเฉพาะปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPLs ธนาคารสามารถควบคุมให้อยู่ในระดับไม่เกิน 2% ปัจจุบัน NPLs อยู่ที่ 1.61% ของยอดสินเชื่อคงค้าง ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบที่ 2.69%
สำหรับผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2559 ธนาคารออมสินมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 2,383,676 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี 2558 ประมาณ 0.7% เงินฝากมียอดคงค้าง 2,037,617 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี 2558 ประมาณ 2.2% ยอดสินเชื่อคงเหลืออยู่ที่ 1,902,000 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี 2558 ประมาณ 17,659 ล้านบาท (1,919,659 ล้านบาท) หรือลดลง 0.9% รายได้จากดอกเบี้ยสุทธิ 14,041 ล้านบาท รายได้จากค่าธรรมเนียม 1,237 ล้านบาท โดยมาจากธุรกิจบัตรและบริการอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันธนาคารมีสมาชิกบัตรอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 5.3 ล้านบัตร บริการ Mobile Banking ภายใต้แบรนด์ “MyMo” ประมาณ 540,000 ราย Internet Banking ประมาณ 136,000 ราย และผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุด “บัตรเครดิต ธนาคารออมสิน” ซึ่งเปิดตัวต่อสื่อมวลชนไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2559 มียอดสมัครเกือบ 11,000 บัตร นอกจากนี้ธนาคารได้มีการนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจกว่า 800 ล้านบาท ทำให้ในไตรมาสแรกของปีนี้มีกำไรสุทธิ 1,656 ล้านบาท
“สาเหตุที่ทำให้ยอดสินเชื่อคงค้างลดลง เนื่องจากเป็นช่วงของการชำระคืนเงินกู้ของลูกหนี้รายใหญ่ ทั้งนี้ ในปี 2559 ธนาคารฯ ตั้งเป้าหมายในการขยายสินเชื่อไว้ที่ 6-8% หากไม่รวมสินเชื่อกลุ่มอาชีพ คาดว่าจะขยายตัว 6.6% เงินฝากขยายตัว 4-6% และคาดว่าปีนี้ธนาคารออมสินจะมีกำไรสุทธิประมาณ 17,800 ล้านบาท โดยธนาคารเดินหน้าตามยุทธศาสตร์สู่ GSB New Era: Digital Transformation Banking “มุ่งพัฒนาสังคมไทยทุกระดับสู่ชีวิตดิจิตอล” พร้อมเดินหน้า 4 ภารกิจหลัก เทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์, ช่วยเหลือประชาชนและเศรษฐกิจฐานราก, ส่งเสริมการออม และตอบสนองนโยบายของรัฐบาล” นายชาติชายกล่าว
นายชาติชายกล่าวต่อว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิเคราะห์และวิจัยเชิงลึกแก่หน่วยงานภายในธนาคารออมสิน และใช้เป็นสัญญาณเตือนสำหรับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้รับรู้ปัญหาและแนวทางป้องกัน ตลอดจนเป็นแนวคิดในด้านเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ธนาคารออมสินจึงเปิด “ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจ และเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน” โดยศูนย์วิจัยฯ ดังกล่าวจัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยเชิงลึกด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจ และเศรษฐกิจฐานราก ตลอดจนให้บริการข้อมูลข่าวสารและผลการวิเคราะห์วิจัย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นหน่วยงาน Think Tank ด้านเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ เป็นการสนองนโยบายของรัฐที่ให้ธนาคารออมสินเป็นที่พึ่งของประชาชนฐานราก ซึ่งนายธัชพล กาญจนกูล รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน จะเป็นผู้ดูแลงานในส่วนนี้
ทั้งนี้ ในระยะเริ่มต้น ธนาคารออมสินได้ร่วมมือกับศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพื่อให้เข้ามาช่วยเป็นที่ปรึกษาในการออกแบบและพัฒนาแบบจำลองเศรษฐกิจมหภาครายไตรมาสของธนาคารออมสิน (Government Savings Bank Quarterly Macroeconomic Model: GSB-QMM) เพื่อใช้ติดตามภาวะเศรษฐกิจและธุรกิจ วิเคราะห์ผลกระทบ ตลอดจนพยากรณ์แนวโน้มของเศรษฐกิจและธุรกิจ รวมทั้งใช้ประกอบการจัดทำรายงานต่างๆ เพื่อเผยแพร่ให้กับหน่วยงานภายในธนาคารและประชาชนทั่วไป
ขณะเดียวกันก็ได้ออกแบบและจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจฐานราก (Grassroots Economic Sentiment Index: GSI) ขึ้นมา โดยข้อมูลที่ใช้สร้างดัชนีดังกล่าวได้มาจากการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในระดับฐานรากในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาวะเศรษฐกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต รายได้ที่จะได้รับในอนาคต การออมทั้งในปัจจุบันและอนาคต การก่อหนี้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต และสถานการณ์การจ้างงานและการใช้จ่ายทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้ธนาคารออมสิน ตลอดจนหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ใช้ติดตามภาวะเศรษฐกิจฐานราก และใช้เป็นสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้รับรู้ปัญหา และสามารถหาแนวทางในการป้องกัน/แก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
นอกจากนี้ กิจกรรมสำคัญที่ศูนย์วิจัยฯ วางแผนว่าจะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การประมาณการภาวะเศรษฐกิจมหภาค และจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งจะเผยแพร่ในรูปแบบของการแถลงข่าว พร้อมกับเอกสารเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ นอกจากนั้น ยังจะมีการจัดทำรายงานภาวะเศรษฐกิจและธุรกิจ รายงานภาวะเศรษฐกิจฐานราก รวมทั้งบทวิเคราะห์/บทความ/ผลการสำรวจความคิดเห็น (Poll) ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจฐานราก
ข่าววันที่ : 5 พฤษภาคม 2016
ที่มา : http://thaipublica.org/2016/05/gsb-pracharat-project/
เรานำเสนอเงินให้กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ย 2% กรุณาติดต่อเราตอนนี้สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทาง email: (georgeanderson.loanfirm255@gmail.com)
ตอบลบข้อเสนอเงินกู้.
เรานำเสนอเงินให้กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ย 2% กรุณาติดต่อเราตอนนี้สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทาง email: (georgeanderson.loanfirm255@gmail.com)
ตอบลบข้อเสนอเงินกู้.