สินเชื่อรัฐบาล หรือ สินเชื่อสาธารณะ (PUBLIC CREDIT) เป็นสินเชื่อที่รัฐบาลหามาเพื่อใช้ประโยชน์ต่อสาธารณะ
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559
บทความ มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมืองตามแนวทางประชารัฐ
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลได้มีนโยบายในการสนับสนุนให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยได้มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบเพื่อการประกอบอาชีพ อีกทั้งยังมีนโยบายส่งเสริมการให้ความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) แก่ประชาชนระดับฐานรากให้มีความรู้ทางการเงิน สามารถพึ่งพาตนเองได้ และลดการพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบ กระทรวงการคลังโดยธนาคารออมสินจึงได้เสนอมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมืองตามแนวทางประชารัฐ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการดังกล่าว เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2559 โดยประกอบด้วย 3 โครงการ สรุปได้ ดังนี้
1) มาตรการสินเชื่อประชารัฐเพื่อประชาชน โดยให้สินเชื่อผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อยทั่วไป เช่น พ่อค้า แม่ค้า ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง ผู้ให้บริการรถรับจ้างสาธารณะ กลุ่มแม่บ้านที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือผู้รับจ้างให้บริการทั่วไป เป็นต้น รายละไม่เกิน 50,000 บาท เพื่อเป็นเงินทุน เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ แก้ปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนในการดำรงชีพ และชำระหนี้สินอื่น ๆ รวมทั้งหนี้นอกระบบ ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในปีที่ 1 ร้อยละ 0 ต่อเดือน และในปีที่ 2 - 5 ร้อยละ 1 ต่อเดือน โดยเงื่อนไขนี้จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2559
2) มาตรการประชารัฐเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินประชาชนภายใต้นโยบายรัฐบาล เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ลูกค้าของธนาคารออมสินที่ใช้บริการสินเชื่อและอยู่ในระหว่างการผ่อนชำระคืนที่มีความประสงค์จะขอพักชำระหนี้ชั่วคราวหรือขอขยายระยะเวลาชำระหนี้เพื่อลดภาระรายจ่าย โดยพักชำระเงินต้นและชำระเฉพาะดอกเบี้ยได้นานสูงสุดเป็นระยะเวลา 3 ปี ขยายระยะเวลาชำระหนี้เพิ่มได้เท่ากับระยะเวลาพักชำระเงินต้น
หรือขยายเวลาการชำระหนี้ได้ 2 เท่าของระยะเวลาคงเหลือตามสัญญาเงินกู้ สูงสุดไม่เกิน 20 ปี ตามเงื่อนไขของสินเชื่อแต่ละประเภท ทั้งนี้ สามารถติดต่อขอเข้าร่วมมาตรการภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2559
3) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาอาชีพและสร้างความรู้ทางการเงินแก่ผู้ประกอบอาชีพรายย่อยในชุมชนเมือง โดยจัดอบรมหลักสูตรการให้ความรู้ทางการเงินแก่บุคคลในครอบครัวของประชาชนฐานราก และการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรม จำนวน 150,000 ครอบครัว ครอบครัวละ 1 คน กระจายตามพื้นที่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยจะมีการจัดอบรมในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม 2559
นายกฤษฎาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมืองตามแนวทางประชารัฐจะช่วยให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบเพื่อการประกอบอาชีพ บรรเทาความเดือดร้อนภายในครอบครัว ลดปัญหาเงินกู้นอกระบบ ช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้อยู่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยให้ประชาชนในระดับฐานรากได้รับความรู้ทางการเงิน เห็นความสำคัญของการวางแผนทางการเงิน
ของครอบครัว สามารถบริหารรายได้รายจ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเงินออมเป็นหลักประกันทางการเงินของครอบครัว ลดการพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบและลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม”
สำนักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3207
โทรสาร 0 2618 3374
ที่มา : กระทรวงการคลัง
วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559
ข่าว ครม.ให้ออมสินปล่อยกู้ผู้มีรายได้น้อยไม่เกินรายละ5หมื่น
ครม.อนุมัติให้ธนาคารออมสินปล่อยกู้ผู้มีรายได้น้อยไม่เกินรายละ 50,000บาท ผ่อน 5 ปี ไม่คิดดอกเบี้ยปีแรก วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมืองตามแนวทางประชารัฐ ใช้งบประมาณรวม 2 หมื่นล้านบาท เป้าหมายเป็นการช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่อยู่ในชุมชนเมือง ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนถึง 9 ล้านคน โดยจะเป็นการดำเนินการผ่านธนาคารออมสินใน 3 มาตรการ ประกอบด้วย 1.มาตรการสินเชื่อประชารัฐเพื่อประชาชน
2.มาตรการประชารัฐเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินประชาชน
3.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาอาชีพและสร้างความรู้ทางการเงินแก่ผู้ประกอบอาชีพรายย่อยในชุมชนเมือง
มาตรการแรก คือ มาตรการสินเชื่อประชารัฐเพื่อประชาชนนั้น ครม.มีมติให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการอิสระรายย่อย เช่น พ่อค้า แม่ค้า วินจักรยานยนต์รับจ้าง แม่บ้าน ผู้รับจ้างที่ให้บริการทั่วไป โดยผู้เข้าร่วมโครงการต้องมีอายุตั้งแต่20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 65 ปี สามารถมาขอกู้เงินจากธนาคารออมสินได้รายละไม่เกิน 50,000 บาท แต่เมื่อรวมกับของเดิมที่เคยกู้ไว้กับโครงการธนาคารประชาชนจะต้องไม่เกินรายละ 2 แสนบาท
ทั้งนี้ ระยะเวลาการผ่อนชำระคืนภายใน 5 ปี ไม่คิดดอกเบี้ยปีแรก ส่วนปีที่ 2-5 คิดดอกเบี้ย 1% ต่อเดือน โดยสามารถใช้การค้ำประกันด้วยบุคคล, หลักทรัพย์ หรือบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถยื่นเรื่องมาที่ธนาคารออมสินได้ภายในสิ้นปี 59
มาตรการที่ 2 มาตรการประชารัฐเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินประชาชนภายใต้นโยบายรัฐบาล โดยธนาคารออมสินจะพักการชำระเงินต้นและชำระดอกเบี้ยได้นานสูงสุดเป็นระยะเวลา 3 ปี และขยายระยะเวลาชำระหนี้เพิ่มได้เท่ากับระยะเวลาพักชำระเงินต้น หรือขยายเวลาการชำระหนี้ได้ 2 เท่าของระยะเวลาคงเหลือตามสัญญาเงินกู้ แต่ไม่เกิน 20 ปี โดยผู้สนใจสามารถติดต่อเข้าร่วมรับความช่วยเหลือตามมาตรการนี้ได้ภายใน 31 ส.ค.59
มาตรการที่ 3 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาอาชีพและสร้างความรู้ทางการเงินแก่ผู้ประกอบอาชีพรายย่อยในชุมชนเมือง โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบอาชีพอิสระ จำนวน 1.5 แสนครอบครอบ ครอบครัวละ 1 คน กระจายตามพื้นที่ทุกจังหวัด ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ ส.ค.-ธ.ค.59 ใช้งบประมาณรวม 163 ล้านบาท
ที่มา http://m.posttoday.com/economy/finance/446305
วันที่ 2 สิงหาคม 2559
บทความ รายละเอียดของการกู้สินเชื่อตามนโยบายรัฐจากธนาคารออมสิน
รายละเอียดการกู้สินเชื่อตามนโยบายรัฐ
1. สินเชื่อประชารัฐเพื่อประชาชน
- คุณสมบัติผู้กู้
2. มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเมื่อรวมอายุผู้กู้ กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 65 ปี
3. เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่แน่นอน สามารถติดต่อได้
- จำนวนเงินให้กู้
- ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้
5 ปี (60งวด)
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
ปีที่ 2-5 ร้อยละ 1.00 ต่อเดือน
กรณีที่ผิดนัดชำระหนี้ธนาคารจะคิดดอกเบี้ย และดอกเบี้ยปรับในอัตราที่ธนาคารกำหนด
- ตารางเงินงวด
- หลักการประกันการเงินกู้
- มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเมื่อรวมอายุผู้ค้ำประกันกับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 65 ปี
- เป็นผู้มีอาชีพและรายได้แน่นอน
- เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่แน่นอน สามารถติดต่อได้
- ค้ำประกันผู้กู้ได้ ไม่เกิน 2 คน
หลักประกันประเภทอื่น สามารถใช้หลักประกันที่เป็นของผู้กู้ หรือของบุคคลอื่นที่ยินยอมให้ใช้ค้ำประกันได้ ดังนี้
หลักประกันประเภทอื่น สามารถใช้หลักประกันที่เป็นของผู้กู้ หรือของบุคคลอื่นที่ยินยอมให้ใช้ค้ำประกันได้ ดังนี้
1. สมุดฝากเงินออมสินและ หรือสลากออมสินพิเศษ ให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 95 ของจำนวนเงินฝากคงเหลือในสมุดฝากเงินออมสิน หรือให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 95 ของมูลค่าสลากออมสินพิเศษ
2. อสังหาริมทรัพย์ที่ซึ่งตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนที่มีความเจริญ มีไฟฟ้า สาธารณูปโภคอื่นๆตามความจำเป็น และมีทางสาธารณประโยชน์ซึ่งสามารถ เข้า-ออกได้สะดวก โดยให้กู้ได้ ดังนี้
- ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
- ไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาประเมินที่ดินว่างเปล่าหรือห้องชุด
- ไม่เกินร้อยละ 60 ของราคาประเมินที่ดินที่เป็นที่สวน ที่ไร่ ที่นา
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ค้ำประกันโดยธนาคารเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ของภาระค้ำประกันให้แก่ผู้กู้ ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป ตลอดอายุสัญญา
- ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
- ไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาประเมินที่ดินว่างเปล่าหรือห้องชุด
- ไม่เกินร้อยละ 60 ของราคาประเมินที่ดินที่เป็นที่สวน ที่ไร่ ที่นา
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ค้ำประกันโดยธนาคารเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ของภาระค้ำประกันให้แก่ผู้กู้ ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป ตลอดอายุสัญญา
- เงื่อนไขอื่นๆ
ค่าธรรมเนียมในการให้บริการสินเชื่อคิดในอัตราร้อยละ 1 ของวงเงินสินเชื่อที่ขอกู้ธนาคาร
*ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม - 30 ธันวาคม 2559
2. สินเชื่อประชาชนสุขใจ
- กำหนดวงเงินกู้
- คุณสมบัติผู้กู้
- เป็นผู้ประกอบการรายย่อย เช่น พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่ แผงลอย หรือผู้ให้บริการ
- มีสถานที่ประกอบการที่แน่นอน ชัดเจน และมีเอกสารหลักฐานรับรองว่าประกอบธุรกิจจริงจากธนาคารออมสิน
- อัตราค่าธรรมเนียมค้ำประกัน
ปีที่ 1 ลูกค้าได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน
ปีที่ 2 เป็นต้นไปตลอดอายุสัญญากู้เงิน ธนาคารออมสินจ่ายให้กับลูกค้า
- อัตราดอกเบี้ย
- ขั้นตอนการใช้บริการ
- ลูกค้าติดต่อสาขา
- สาขาพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ และติดต่อ บสย. อนุมัติค้ำประกัน
- บสย. อนุมัติค้ำประกัน
- สาขาแจ้งลูกค้าทำสัญญา
- ระยะเวลาการผ่อนชำระ
- วัตถุประสงค์การกู้
- หลักประกันเงินกู้
ที่มา : http://www.gsb.or.th/products/loan/government
วันที่ : 19 กันยายน 2559
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559
ทุ่ม2แสนล้าน! แบงก์รัฐอัดฉีดช่วย"คนจน"ให้กู้ดอกเบี้ยต่ำ-พักหนี้ เสนอ"บิ๊กป้อม"เคาะ
นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (แบงก์รัฐ) รวบรวมมาตรการเพื่อเสนอ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจน ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่นัดประชุมวันที่ 16 กุมภาพันธ์
"แม้เรื่องนี้เป็นการดำเนินการโดย คสช. ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ถือเป็นการช่วยกันทำงานเพื่อประชาชน โดยในส่วนของ ธ.ก.ส.มี 4 โครงการที่จะมีการพักหนี้ให้ รวมถึงปล่อยสินเชื่อเพิ่มเพื่อนำไปประกอบอาชีพ ส่วนธนาคารออมสิน เตรียมเสนอ 4-5 โครงการ" นาย สมหมายกล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลังแจ้งว่า แบงก์รัฐเตรียมกว่า 20 โครงการวงเงินรวมกว่า 2 แสนล้านบาท ประกอบด้วย ธ.ก.ส.4-5 โครงการวงเงินกว่า 7-8 หมื่นล้านบาท ธนาคารออมสิน 8 โครงการวงเงินกว่า 9 หมื่นล้านบาท ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) 5 โครงการวงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท และธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) 1 โครงการวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท
-ธกส.ยืดเวลาเกษตรกรใช้หนี้
รายข่าวแจ้งว่า ธ.ก.ส. มีมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้เกษตรกร สำหรับลูกหนี้เกษตรกรเดิมที่ยังค้างชำระหนี้กับ ธ.ก.ส. จากเหตุผิดปกติ เช่น หัวหน้าครอบครัวเสียชีวิต ขาดรายได้อาจต้องเลิกประกอบอาชีพ และไม่มีที่ดินทำกิน คิดเป็นมูลหนี้ประมาณ 2-3 หมื่นล้านบาท มีลูกหนี้ที่เกี่ยวข้องประมาณ 5 หมื่นราย โดยจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดย 2 กลุ่มแรกคือลูกหนี้ที่มีหนี้ค้างนานพอสมควรโอกาสฟื้นยาก และลูกหนี้ค้างชำระแต่ยังมีศักยภาพที่จะชำระหนี้ต่อไปได้ ธ.ก.ส.จะปรับปรุงโครงสร้างหนี้และขยายเวลาผ่อนชำระหนี้ให้ นานขึ้น
"ส่วนกลุ่มสุดท้าย ลูกหนี้ที่ได้รับผล กระทบจากราคาข้าวและยางตกต่ำ ธ.ก.ส. จะปรับโครงสร้างหนี้ ขยายระยะเวลาชำระเฉพาะเงินต้นออกไป 1 ปี แต่ต้องจ่ายดอกเบี้ยคงเดิม เพื่อเสริมสภาพคล่องให้เกษตรกรนอกจากนี้จะได้รับวงเงินสินเชื่อสนับสนุนเพื่อการฟื้นฟูตามแผนการผลิต ผ่านมาตรการสินเชื่อ ธ.ก.ส. ที่มีอยู่แล้วดอกเบี้ยอัตราพิเศษ วงเงินสินเชื่อเฉลี่ยประมาณ 5 หมื่นบาทถึง 1 แสนบาทต่อราย ทั้งนี้ ธ.ก.ส.เตรียมวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมไว้ไม่เกิน 5 หมื่นล้านบาท" รายงานข่าวระบุ
-ออมสินชง6โครงการ5.5หมื่นล.
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารออมสินมี 6 โครงการ วงเงินรวม 5.5 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย 1.โครงการสินเชื่อประชาชนสุขใจ กลุ่มเป้าหมายคือประชาชนทั่วไปและธนาคารประชาชน วงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท ให้สินเชื่อต่อรายตั้งแต่ 1 หมื่นบาทแต่ไม่เกินรายละ 2 แสนบาท ดอกเบี้ย 1% ต่อเดือน ระยะเวลา 10 ปี 2.โครงการสินเชื่อออมสุขใจ วงเงินสินเชื่อ 1 หมื่นล้านบาท ต้องฝากเงิน 3 เดือน 6 เดือนและ 10 เดือน และจะให้สินเชื่อต่อราย 5 เท่าของเงินฝากรายละไม่เกิน 2 แสนบาททันที ไม่ต้องวิเคราะห์สินเชื่อ ดอกเบี้ย 1% ต่อเดือน ระยะเวลา 5-8 ปี กลุ่มเป้าหมายคือประชาชนทั่วไปและมนุษย์เงินเดือนคาดว่าจะปล่อยสินเชื่อได้ 2 แสนราย
นายชาติชายกล่าวว่า 3.โครงการสินเชื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต วงเงินสินเชื่อ 1 หมื่นล้านบาท กลุ่มเป้าหมายคือพนักงานโรงงาน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน วงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกิน 2 แสนบาท ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน แต่หน่วยงานต้นสังกัดหักบัญชีเงินเดือนนำส่งแบงก์ ดอกเบี้ย 0.75% ต่อเดือน ระยะเวลา 5-8 ปี 4.โครงการสินเชื่อคืนความสุข ภาค 2 วงเงินสินเชื่อ 1 หมื่นล้านบาท สำหรับลูกค้าที่ผ่อนชำระดีในรอบ 12 เดือน ขยายวงเงินสินเชื่อเป็น 1.5 หมื่นบาทถึง 4 หมื่นบาทต่อราย คิดดอกเบี้ย 0.75% ต่อเดือน ระยะเวลา 3-5 ปี คาดว่าจะดูแลกลุ่มลูกค้าธนาคารประชาชนได้ประมาณ 5 แสนราย จากทั้งหมด 1 ล้านราย
-ปล่อยกู้เอสเอ็มอีหมื่นล้าน
นายชาติชายกล่าวว่า 5.โครงการสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอี วงเงินสินเชื่อ 1 หมื่นล้านบาท จะร่วมกับพันธมิตร อาทิ ทางจังหวัด หอการค้าแห่งประเทศและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อคัดเลือกและจัด 10 อันดับธุรกิจที่ควรให้การสนับสนุนสินเชื่อและดอกเบี้ยพิเศษ โดยกลุ่มธุรกิจอันดับ 1-3 จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ อันดับ 4-6 จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษรองลงมา ซึ่งส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างสองกลุ่มนี้ประมาณ 0.5-1% ส่วนอันดับ 6-10 จะได้รับอัตราดอกเบี้ยปกติ สำหรับกลุ่มเอสเอ็มอี ระดับวงเงินสินเชื่อต่ำกว่า 30-40 ล้านบาท เป็นธุรกิจดาวเด่นของจังหวัด เช่น บริการ ท่องเที่ยวและศิลปหัตถกรรม
นายชาติชายกล่าวว่า 6.โครงการสินเชื่อบ้าน วงเงินสินเชื่อ 1 หมื่นล้านบาท จะประเมินลูกค้าเดิมที่มีความสามารถผ่อนชำระเงินกู้มาแล้ว จะให้วงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมเท่ากับวงเงินที่ผ่อน ดอกเบี้ย 6.875% กำลังพิจารณาอยู่ว่ามีลูกค้าเดิมที่จะดูแลได้จำนวนเท่าไร
-อัดฉีดกองทุนหมู่บ้าน4.3หมื่นล.
นายชาติชายกล่าวว่า นอกจากนี้ ธนาคารออมสินเตรียมมาตรการสนับสนุนวงเงินสินเชื่อสำหรับกองทุนหมู่บ้าน วงเงิน 4.3 หมื่นล้านบาท มี 2 โครงการ คือ 1.ยกระดับกองทุนหมู่บ้าน มีวงเงินสินเชื่อ 2 หมื่นล้านบาท เพื่อดูแลกองทุนหมู่บ้านกว่า 3 หมื่นกองทุน สำหรับยกระดับกองทุนหมู่บ้านที่ดี 1 หมื่นกองทุน วงเงินสินเชื่อ 1 หมื่นล้านบาท กองทุนละ 1 ล้านบาท และเพื่อการพัฒนากองทุนหมู่บ้าน 2 หมื่นกองทุน วงเงินสินเชื่อ 1 หมื่นล้านบาท กองทุนละ 5 แสนบาท ส่วนนี้รัฐบาลรับภาระดอกเบี้ย 1.5% และจ่ายชดเชยดอกเบี้ยให้ธนาคารออมสิน 3% ไม่ชดเชยเงินต้น
นายชาติชายกล่าวว่า 2.สนับสนุนการพัฒนาหมู่บ้านมีวงเงินสินเชื่อ 2.3 หมื่นล้านบาท เช่น การพัฒนาแหล่งน้ำ ซ่อมสร้างทาง หมู่บ้านละ 3 แสนบาท กว่า 7 หมื่นหมู่บ้าน ในส่วนนี้รัฐบาลจะรับภาระจ่ายชดเชยทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับธนาคารออมสิน
-ธอส.ช่วยคนจนมีบ้าน-ดบ.ถูก
ด้านนางอังคณา ปิลันธน์โอวาท ไชยมนัส กรรมการผู้จัดการ ธอส. กล่าวว่า ธอส.เตรียมเสนอ 5 โครงการ วงเงินสินเชื่อ 2.55 หมื่นล้านบาท โครงการใหม่คือ สินเชื่อบ้านผู้มีรายได้น้อย วงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยพิเศษต่ำกว่าอัตราปัจจุบันที่ปล่อยกู้ 0.87% แต่ต้องพิจารณาความสามารถชำระหนี้ของผู้กู้ เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยมีบ้านที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะในต่างจังหวัดและ หัวเมืองใหญ่
นางอังคณากล่าวว่า ส่วนที่เหลือ 4 โครงการ เป็นโครงการเดิมที่ ธอส.จะทำต่อเนื่อง ได้แก่ 1.สินเชื่อของขวัญปีใหม่ 2558 จะปล่อยวงเงินกู้เพิ่มอีก 3,000 ล้านบาท หลังจากก่อนหน้านี้ตั้งวงเงินไว้ 5,000 ล้านบาท ปล่อยกู้ไปหมดแล้ว 2.ธอส.เพื่อสานฝันคนมีรายได้น้อย ปล่อยกู้ไม่เกิน 1.5 ล้านบาท วงเงิน 8,000 ล้านบาท 3.บ้าน ธอส.เพิ่มสุข เพื่อปรับปรุงบ้านและการซื้ออุปกรณ์ตกแต่งบ้าน วงเงิน 2,500 ล้านบาท และ 4.โครงการบ้านเอื้ออาทร วงเงิน 2,000 ล้านบาท
- เอสเอ็มอีแบงก์ปล่อยกู้โอท็อป
นายสุพจน์ อาวาส กรรมการผู้จัดการ เอสเอ็มอีแบงก์ กล่าวว่า เอสเอ็มอีแบงก์จะปล่อยกู้ให้กับโอท็อป วิสาหกิจชุมชน หรือ ผู้ประกอบการขนาดเล็กทั่วไป วงเงินรวม 1 หมื่นล้านบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 5% วงเงินไม่เกิน 15 ล้านบาทต่อราย โดยเม็ดเงินที่นำมาใช้ในโครงการนี้ทางกองทุนประกันสังคมนำมาฝากกับธนาคารโดยคิดดอกเบี้ยต่ำ ปล่อยกู้ให้กับลูกค้ารายใหม่ทั่วประเทศ ทำให้มีเม็ดเงินใหม่ลงสู่รากหญ้า
นายสุธนัย ประเสริฐสรรพ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) กล่าวว่า ธสน.เตรียม 5 โครงการวงเงินเกือบ 1 หมื่นล้านบาท แม้จะไม่ใช่โครงการที่ คสช.สั่งมา แต่เป็นโครงการที่ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล ได้แก่ 1.สินเชื่อเอสเอ็มอี ส่งออกสบายใจ วงเงินสินเชื่อหมุนเวียนระยะสั้น วงเงินสูงถึง 6 เท่าของหลักประกัน 2.สินเชื่อเอสเอ็มอี ค้าชายแดน วงเงินกู้สูงสุด 10 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการที่ค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน 3.สินเชื่อเอสเอ็มอี ขยายฐาน วงเงินกู้ระยะยาว วงเงินสูงสุด 30 ล้านบาท กู้ได้ทั้งสกุลเงินบาทและสกุลเงินอื่น ระยะเวลาผ่อนชำระ 7 ปี 4.สินเชื่อเพื่อการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นเงินกู้ระยะ 15 ปี และ 5.สินเชื่อเพิ่มพลังผู้ซื้อขาย เป็นแพคเกจทางการเงินที่ให้ผู้ส่งออกไทยนำไปเสนอผู้ซื้อในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เพื่อซื้อสินค้าและบริการของผู้ส่งออกไทย
วันที่ : 16 ก.พ. 58
"แม้เรื่องนี้เป็นการดำเนินการโดย คสช. ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ถือเป็นการช่วยกันทำงานเพื่อประชาชน โดยในส่วนของ ธ.ก.ส.มี 4 โครงการที่จะมีการพักหนี้ให้ รวมถึงปล่อยสินเชื่อเพิ่มเพื่อนำไปประกอบอาชีพ ส่วนธนาคารออมสิน เตรียมเสนอ 4-5 โครงการ" นาย สมหมายกล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลังแจ้งว่า แบงก์รัฐเตรียมกว่า 20 โครงการวงเงินรวมกว่า 2 แสนล้านบาท ประกอบด้วย ธ.ก.ส.4-5 โครงการวงเงินกว่า 7-8 หมื่นล้านบาท ธนาคารออมสิน 8 โครงการวงเงินกว่า 9 หมื่นล้านบาท ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) 5 โครงการวงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท และธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) 1 โครงการวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท
-ธกส.ยืดเวลาเกษตรกรใช้หนี้
รายข่าวแจ้งว่า ธ.ก.ส. มีมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้เกษตรกร สำหรับลูกหนี้เกษตรกรเดิมที่ยังค้างชำระหนี้กับ ธ.ก.ส. จากเหตุผิดปกติ เช่น หัวหน้าครอบครัวเสียชีวิต ขาดรายได้อาจต้องเลิกประกอบอาชีพ และไม่มีที่ดินทำกิน คิดเป็นมูลหนี้ประมาณ 2-3 หมื่นล้านบาท มีลูกหนี้ที่เกี่ยวข้องประมาณ 5 หมื่นราย โดยจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดย 2 กลุ่มแรกคือลูกหนี้ที่มีหนี้ค้างนานพอสมควรโอกาสฟื้นยาก และลูกหนี้ค้างชำระแต่ยังมีศักยภาพที่จะชำระหนี้ต่อไปได้ ธ.ก.ส.จะปรับปรุงโครงสร้างหนี้และขยายเวลาผ่อนชำระหนี้ให้ นานขึ้น
"ส่วนกลุ่มสุดท้าย ลูกหนี้ที่ได้รับผล กระทบจากราคาข้าวและยางตกต่ำ ธ.ก.ส. จะปรับโครงสร้างหนี้ ขยายระยะเวลาชำระเฉพาะเงินต้นออกไป 1 ปี แต่ต้องจ่ายดอกเบี้ยคงเดิม เพื่อเสริมสภาพคล่องให้เกษตรกรนอกจากนี้จะได้รับวงเงินสินเชื่อสนับสนุนเพื่อการฟื้นฟูตามแผนการผลิต ผ่านมาตรการสินเชื่อ ธ.ก.ส. ที่มีอยู่แล้วดอกเบี้ยอัตราพิเศษ วงเงินสินเชื่อเฉลี่ยประมาณ 5 หมื่นบาทถึง 1 แสนบาทต่อราย ทั้งนี้ ธ.ก.ส.เตรียมวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมไว้ไม่เกิน 5 หมื่นล้านบาท" รายงานข่าวระบุ
-ออมสินชง6โครงการ5.5หมื่นล.
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารออมสินมี 6 โครงการ วงเงินรวม 5.5 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย 1.โครงการสินเชื่อประชาชนสุขใจ กลุ่มเป้าหมายคือประชาชนทั่วไปและธนาคารประชาชน วงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท ให้สินเชื่อต่อรายตั้งแต่ 1 หมื่นบาทแต่ไม่เกินรายละ 2 แสนบาท ดอกเบี้ย 1% ต่อเดือน ระยะเวลา 10 ปี 2.โครงการสินเชื่อออมสุขใจ วงเงินสินเชื่อ 1 หมื่นล้านบาท ต้องฝากเงิน 3 เดือน 6 เดือนและ 10 เดือน และจะให้สินเชื่อต่อราย 5 เท่าของเงินฝากรายละไม่เกิน 2 แสนบาททันที ไม่ต้องวิเคราะห์สินเชื่อ ดอกเบี้ย 1% ต่อเดือน ระยะเวลา 5-8 ปี กลุ่มเป้าหมายคือประชาชนทั่วไปและมนุษย์เงินเดือนคาดว่าจะปล่อยสินเชื่อได้ 2 แสนราย
นายชาติชายกล่าวว่า 3.โครงการสินเชื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต วงเงินสินเชื่อ 1 หมื่นล้านบาท กลุ่มเป้าหมายคือพนักงานโรงงาน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน วงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกิน 2 แสนบาท ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน แต่หน่วยงานต้นสังกัดหักบัญชีเงินเดือนนำส่งแบงก์ ดอกเบี้ย 0.75% ต่อเดือน ระยะเวลา 5-8 ปี 4.โครงการสินเชื่อคืนความสุข ภาค 2 วงเงินสินเชื่อ 1 หมื่นล้านบาท สำหรับลูกค้าที่ผ่อนชำระดีในรอบ 12 เดือน ขยายวงเงินสินเชื่อเป็น 1.5 หมื่นบาทถึง 4 หมื่นบาทต่อราย คิดดอกเบี้ย 0.75% ต่อเดือน ระยะเวลา 3-5 ปี คาดว่าจะดูแลกลุ่มลูกค้าธนาคารประชาชนได้ประมาณ 5 แสนราย จากทั้งหมด 1 ล้านราย
-ปล่อยกู้เอสเอ็มอีหมื่นล้าน
นายชาติชายกล่าวว่า 5.โครงการสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอี วงเงินสินเชื่อ 1 หมื่นล้านบาท จะร่วมกับพันธมิตร อาทิ ทางจังหวัด หอการค้าแห่งประเทศและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อคัดเลือกและจัด 10 อันดับธุรกิจที่ควรให้การสนับสนุนสินเชื่อและดอกเบี้ยพิเศษ โดยกลุ่มธุรกิจอันดับ 1-3 จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ อันดับ 4-6 จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษรองลงมา ซึ่งส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างสองกลุ่มนี้ประมาณ 0.5-1% ส่วนอันดับ 6-10 จะได้รับอัตราดอกเบี้ยปกติ สำหรับกลุ่มเอสเอ็มอี ระดับวงเงินสินเชื่อต่ำกว่า 30-40 ล้านบาท เป็นธุรกิจดาวเด่นของจังหวัด เช่น บริการ ท่องเที่ยวและศิลปหัตถกรรม
นายชาติชายกล่าวว่า 6.โครงการสินเชื่อบ้าน วงเงินสินเชื่อ 1 หมื่นล้านบาท จะประเมินลูกค้าเดิมที่มีความสามารถผ่อนชำระเงินกู้มาแล้ว จะให้วงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมเท่ากับวงเงินที่ผ่อน ดอกเบี้ย 6.875% กำลังพิจารณาอยู่ว่ามีลูกค้าเดิมที่จะดูแลได้จำนวนเท่าไร
-อัดฉีดกองทุนหมู่บ้าน4.3หมื่นล.
นายชาติชายกล่าวว่า นอกจากนี้ ธนาคารออมสินเตรียมมาตรการสนับสนุนวงเงินสินเชื่อสำหรับกองทุนหมู่บ้าน วงเงิน 4.3 หมื่นล้านบาท มี 2 โครงการ คือ 1.ยกระดับกองทุนหมู่บ้าน มีวงเงินสินเชื่อ 2 หมื่นล้านบาท เพื่อดูแลกองทุนหมู่บ้านกว่า 3 หมื่นกองทุน สำหรับยกระดับกองทุนหมู่บ้านที่ดี 1 หมื่นกองทุน วงเงินสินเชื่อ 1 หมื่นล้านบาท กองทุนละ 1 ล้านบาท และเพื่อการพัฒนากองทุนหมู่บ้าน 2 หมื่นกองทุน วงเงินสินเชื่อ 1 หมื่นล้านบาท กองทุนละ 5 แสนบาท ส่วนนี้รัฐบาลรับภาระดอกเบี้ย 1.5% และจ่ายชดเชยดอกเบี้ยให้ธนาคารออมสิน 3% ไม่ชดเชยเงินต้น
นายชาติชายกล่าวว่า 2.สนับสนุนการพัฒนาหมู่บ้านมีวงเงินสินเชื่อ 2.3 หมื่นล้านบาท เช่น การพัฒนาแหล่งน้ำ ซ่อมสร้างทาง หมู่บ้านละ 3 แสนบาท กว่า 7 หมื่นหมู่บ้าน ในส่วนนี้รัฐบาลจะรับภาระจ่ายชดเชยทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับธนาคารออมสิน
-ธอส.ช่วยคนจนมีบ้าน-ดบ.ถูก
ด้านนางอังคณา ปิลันธน์โอวาท ไชยมนัส กรรมการผู้จัดการ ธอส. กล่าวว่า ธอส.เตรียมเสนอ 5 โครงการ วงเงินสินเชื่อ 2.55 หมื่นล้านบาท โครงการใหม่คือ สินเชื่อบ้านผู้มีรายได้น้อย วงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยพิเศษต่ำกว่าอัตราปัจจุบันที่ปล่อยกู้ 0.87% แต่ต้องพิจารณาความสามารถชำระหนี้ของผู้กู้ เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยมีบ้านที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะในต่างจังหวัดและ หัวเมืองใหญ่
นางอังคณากล่าวว่า ส่วนที่เหลือ 4 โครงการ เป็นโครงการเดิมที่ ธอส.จะทำต่อเนื่อง ได้แก่ 1.สินเชื่อของขวัญปีใหม่ 2558 จะปล่อยวงเงินกู้เพิ่มอีก 3,000 ล้านบาท หลังจากก่อนหน้านี้ตั้งวงเงินไว้ 5,000 ล้านบาท ปล่อยกู้ไปหมดแล้ว 2.ธอส.เพื่อสานฝันคนมีรายได้น้อย ปล่อยกู้ไม่เกิน 1.5 ล้านบาท วงเงิน 8,000 ล้านบาท 3.บ้าน ธอส.เพิ่มสุข เพื่อปรับปรุงบ้านและการซื้ออุปกรณ์ตกแต่งบ้าน วงเงิน 2,500 ล้านบาท และ 4.โครงการบ้านเอื้ออาทร วงเงิน 2,000 ล้านบาท
- เอสเอ็มอีแบงก์ปล่อยกู้โอท็อป
นายสุพจน์ อาวาส กรรมการผู้จัดการ เอสเอ็มอีแบงก์ กล่าวว่า เอสเอ็มอีแบงก์จะปล่อยกู้ให้กับโอท็อป วิสาหกิจชุมชน หรือ ผู้ประกอบการขนาดเล็กทั่วไป วงเงินรวม 1 หมื่นล้านบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 5% วงเงินไม่เกิน 15 ล้านบาทต่อราย โดยเม็ดเงินที่นำมาใช้ในโครงการนี้ทางกองทุนประกันสังคมนำมาฝากกับธนาคารโดยคิดดอกเบี้ยต่ำ ปล่อยกู้ให้กับลูกค้ารายใหม่ทั่วประเทศ ทำให้มีเม็ดเงินใหม่ลงสู่รากหญ้า
นายสุธนัย ประเสริฐสรรพ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) กล่าวว่า ธสน.เตรียม 5 โครงการวงเงินเกือบ 1 หมื่นล้านบาท แม้จะไม่ใช่โครงการที่ คสช.สั่งมา แต่เป็นโครงการที่ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล ได้แก่ 1.สินเชื่อเอสเอ็มอี ส่งออกสบายใจ วงเงินสินเชื่อหมุนเวียนระยะสั้น วงเงินสูงถึง 6 เท่าของหลักประกัน 2.สินเชื่อเอสเอ็มอี ค้าชายแดน วงเงินกู้สูงสุด 10 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการที่ค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน 3.สินเชื่อเอสเอ็มอี ขยายฐาน วงเงินกู้ระยะยาว วงเงินสูงสุด 30 ล้านบาท กู้ได้ทั้งสกุลเงินบาทและสกุลเงินอื่น ระยะเวลาผ่อนชำระ 7 ปี 4.สินเชื่อเพื่อการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นเงินกู้ระยะ 15 ปี และ 5.สินเชื่อเพิ่มพลังผู้ซื้อขาย เป็นแพคเกจทางการเงินที่ให้ผู้ส่งออกไทยนำไปเสนอผู้ซื้อในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เพื่อซื้อสินค้าและบริการของผู้ส่งออกไทย
วันที่ : 16 ก.พ. 58
วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559
บทความเรื่อง สินเชื่อภายใต้โครงการสนับสนุนของรัฐบาล สนับสนุนเอสเอ็มอีไทย ให้ก้าวไกลอย่างเข้มแข็ง
เพราะเอสเอ็มอี คือกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ธนาคารกรุงเทพจึงร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จากภาครัฐ ให้บริการสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือปลอดดอกเบี้ย เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่เอสเอ็มอีไทยทั่วประเทศ
สินเชื่อโครงการสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมเทคโนโลยี
หากท่านมีโครงการที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพหรือปรับปรุงขบวนการผลิตเดิม ธนาคารกรุงเทพร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อม
สนับสนุนโครงการของท่านด้วยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำและวงเงินกู้สูงสุดถึง 30 ล้านบาท แต่ไม่เกินร้อยละ 75 ของมูลค่าลงทุนทั้งโครงการเพื่อช่วยท่านสร้างสรรค์นวัตกรรมต่อไป
สินเชื่อโครงการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินตามระเบียบ ธปท.
ธนาคารกรุงเทพร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทุกประเภทด้วยการเสริมสภาพคล่องให้แก่กิจการ ด้วยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำเพียง MLR - 2.75% ต่อปี เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในรูปตั๋วสัญญาใช้เงินอายุไม่เกิน 5 ปี โดยมีใบสรุปค่าใช้จ่ายแล้วไม่เกิน 4 เดือนมาประกอบ
การขายตั๋ว
สินเชื่อโครงการ นวัตกรรมดี...ไม่มีดอกเบี้ย
หากท่านมีนวัตกรรมที่สามารถสร้างความแตกต่าง และมีความสามารถทางการแข่งขันในเชิงธุรกิจ ธนาคารกรุงเทพและสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ยินดีสนับสนุนเงินทุนเพื่อการลงทุนและขยายผลในทางธุรกิจ แม้ว่าท่านจะเป็นผู้ประกอบการใหม่ เราก็พร้อมที่จะสนับสนุนท่านด้วยเงินกู้ในวงเงินสูงสุด 100 ล้านบาท
ปลอดดอกเบี้ยจำนวนไม่เกิน 5 ล้านบาท เป็นเวลา 3 ปี
สินเชื่อโครงการสนับสนุนการปรับปรุง/ฟื้นฟูสภาพเครื่องจักรแก่เอสเอ็มอี
ธนาคารกรุงเทพจับมือสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สนับสนุนลูกค้าเอสเอ็มอีของธนาคารเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้วยวงเงินกู้พิเศษเพิ่มเติมจากสินเชื่อเดิม เพื่อใช้ในการปรับปรุง หรือฟื้นฟูสภาพเครื่องจักร โดยท่านจะได้รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ย 3% จากอัตราดอกเบี้ยปกตินานถึง 5 ปี
ที่มาของบทความ : http://www.bangkokbank.com/BangkokBankThai/BusinessBanking/SMEs/LoansForSMEs/GovernmentSupportedLoans/Pages/Default.aspx
แบงก์ออมสินจัดเต็ม 2 ปี ลุยสินเชื่อนโยบายรัฐ 11 โครงการ ปล่อยกู้ไปแล้ว 3 แสนล้าน ให้ลูกค้าฐานราก 6 แสนราย
1. โครงการสินเชื่อธนาคารประชาชนรูปแบบใหม่ ปล่อยกู้ให้กับพ่อค้า แม่ค้า และวิสาหกิจขนาดย่อม ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ หรือเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ รวมทั้งชำระหนี้อื่นๆ วงเงินรวม 31,000 ล้านบาท ณ วันที่ 31 มีนาคม 2559 ได้อนุมัติสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการรายย่อย 478,987 ราย วงเงิน 40,910 ล้านบาท
2. มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ในระดับหมู่บ้าน ปล่อยกู้ให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง วงเงิน 30,000 ล้านบาท เริ่มดำเนินการเดือนกันยายน 2558 – วันที่ 31 มีนาคม 2559 อนุมัติเงินกู้ให้กองทุนหมู่บ้านฯ แล้ว 25,728 กองทุน วงเงิน 25,570 ล้านบาท
3. โครงการเพิ่มศักยภาพกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (สมัยนายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) ปล่อยกู้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองวงเงิน 20,000 ล้านบาท เริ่มดำเนินการเดือนมิถุนายน 2558 – เดือนมิถุนายน 2560 ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2559 อนุมัติเงินกู้ให้กองทุนหมู่บ้านแล้ว 5,623 กองทุน วงเงิน 9,910 ล้านบาท
4. มาตรการ “แก้ไขปัญหาหนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษา” ปล่อยกู้ครู เพื่อนำเงินไปชำระหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ครู สถาบันการเงินอื่น เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.), ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน เป็นต้น ณ วันที่ 31 มีนาคม 2559 มีครูมาลงทะเบียน 56,606 ราย ขอวงเงินกู้เพื่อนำไปชำระหนี้สถาบันการเงินทั้งสิ้น 78,447 ล้านบาท อนุมัติเงินกู้แล้ว 29,323 ราย วงเงิน 44,135 ล้านบาท
5. มาตรการ “บรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกค้าธนาคาร” พักชำระหนี้ 6 เดือนให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการเมือง เศรษฐกิจ และภัยธรรมชาติ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2559 มีลูกค้ามาลงทะเบียน 95,704 ราย ขอพักชำระหนี้วงเงิน 45,213 ล้านบาท ธนาคารอนุมัติ 47,209 ราย วงเงิน 24,570 ล้านบาท
6. โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่าให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยธนาคารออมสินปล่อยกู้ธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการ 0.1% ต่อปี เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์นำไปปล่อยกู้ต่อให้กับลูกค้าเอสเอ็มอี คิดดอกเบี้ยไม่เกิน 4% ต่อปี ผ่อนชำระหนี้ไม่เกิน 7 ปี โครงการนี้มี 2 เฟส คือ เฟสที่ 1 วงเงินกู้ 100,000 ล้านบาท เริ่มดำเนินการเดือนกันยายน-เดือนธันวาคม 2558 อนุมัติเงินกู้ 11,861 ราย วงเงิน 98,858 ล้านบาท เฟสที่ 2 วงเงินกู้ 50,000 ล้านบาท เริ่มดำเนินการเดือนมกราคม-เดือนมีนาคม 2559 อนุมัติเงินกู้ 9,483 ราย วงเงิน 49,642 ล้านบาท
7. Venture Capital “มาตรการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 8 กันยายน 2558 ให้ธนาคารออมสิน, ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และธนาคารกรุงไทย จัดสรรเงินทุนทุนแห่งละ 2,000 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนร่วมทุน วงเงิน 6,000 ล้านบาท เพื่อเข้าไปร่วมลงทุนกับเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพสูงและมีโอกาสเติบโต ณ วันที่ 31 มีนาคม 2559 ธนาคารออมสินอนุมัติในหลักการเข้าร่วมลงทุนกับเอสเอ็มอีเป้าหมายแล้ว 2 ราย วงเงิน 60 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการหารือกับหน่วยงานพันธมิตรเพื่อจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุนในเอสเอ็มอีอีก 3 กองทุน
8. โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ ให้สำนักงบประมาณจัดสรรวงเงินงบกลาง 35,000 ล้านบาท สนับสนุนเงินทุนให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 79,556 กองทุน กองทุนละไม่เกิน 500,000 บาท เพื่อใช้ในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน และเพื่อดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ที่ชุมชนเห็นว่าเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมศักยภาพในการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ในชุมชนให้ดีขึ้น โดยธนาคารออมสินได้แต่งตั้งตัวแทนจากสาขาของธนาคารเข้าร่วมใน “คณะทำงานดำเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐจังหวัด” (คปจ.) เพื่อพิจารณาโครงการทั้ง 76 จังหวัด และแต่งตั้งผู้แทนธนาคารออมสินเข้าร่วมใน “คณะอนุกรรมการดำเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ (อคป.) เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการฯ
9. โครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบปัญหาวิกฤติภัยแล้ง ปี 2558/59 ผ่านสินเชื่อธนาคารประชาชน และสินเชื่อธุรกิจห้องแถว ธนาคารออมสินได้อนุมัติสินเชื่อไปแล้ว 65,046 ราย วงเงิน 5,045 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีลูกค้าของธนาคารที่ประสบปัญหาภัยแล้งมาลงทะเบียนขอพักชำระหนี้ 2,351 ราย วงเงิน 342 ล้านบาท ธนาคารอนุมัติให้พักชำระหนี้ไป 807 ราย วงเงิน 156 ล้านบาท
10. โครงการ “GSB SMEs Startup” ธนาคารจัดสื่อประชาสัมพันธ์ ชื่อชุด “SMEs Startup Thailand” ผ่านสื่อโทรทัศน์ (TVC), จัดกิจกรรมประกวดแผนธุรกิจมาแล้ว 3 ปี และทำการบ่มเพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (Incubator) ปีละ 100 ราย และจัดโครงการประกวด “ออมสิน สุดยอดแนวคิดพลิกธุรกิจไทย” Startup Thailand by GSB
11. โครงการ “บ้านประชารัฐ” ออมสินจัดสรรวงเงินกู้ 20,000 ล้านบาท ปล่อยกู้ให้กับประชาชนทั่วไป สำหรับซื้อบ้านใหม่หรือบ้านที่สร้างเสร็จพร้อมอยู่ และทรัพย์สินรอการขาย (NPAs) ของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ หรือบ้านมือสอง ที่เข้าร่วมโครงการบ้านประชารัฐเท่านั้น (ที่ดินพร้อมบ้าน หรือห้องชุด) แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องเป็นบ้านหลังแรก หรือจะกู้เพื่อปลูกสร้างบ้าน รายละไม่เกิน 1.5 ล้านบาท รวมทั้งการปล่อยกู้เพื่อต่อเติม/ซ่อมแซมบ้านในที่ดินของตนเองวงเงินกู้ไม่เกิน 500,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ยปีแรก 0% มีคนลงทะเบียนขอกู้ 31,352 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อ 34,528 ล้านบาท ธนาคารอนุมัติสินเชื่อ 1,296 ราย วงเงิน 1,457 ล้านบาท (คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวถึงการปล่อยสินเชื่อตามนโยบายรัฐว่าไม่มีผลกระทบต่อธนาคาร โดยเฉพาะปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPLs ธนาคารสามารถควบคุมให้อยู่ในระดับไม่เกิน 2% ปัจจุบัน NPLs อยู่ที่ 1.61% ของยอดสินเชื่อคงค้าง ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบที่ 2.69%
สำหรับผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2559 ธนาคารออมสินมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 2,383,676 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี 2558 ประมาณ 0.7% เงินฝากมียอดคงค้าง 2,037,617 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี 2558 ประมาณ 2.2% ยอดสินเชื่อคงเหลืออยู่ที่ 1,902,000 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี 2558 ประมาณ 17,659 ล้านบาท (1,919,659 ล้านบาท) หรือลดลง 0.9% รายได้จากดอกเบี้ยสุทธิ 14,041 ล้านบาท รายได้จากค่าธรรมเนียม 1,237 ล้านบาท โดยมาจากธุรกิจบัตรและบริการอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันธนาคารมีสมาชิกบัตรอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 5.3 ล้านบัตร บริการ Mobile Banking ภายใต้แบรนด์ “MyMo” ประมาณ 540,000 ราย Internet Banking ประมาณ 136,000 ราย และผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุด “บัตรเครดิต ธนาคารออมสิน” ซึ่งเปิดตัวต่อสื่อมวลชนไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2559 มียอดสมัครเกือบ 11,000 บัตร นอกจากนี้ธนาคารได้มีการนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจกว่า 800 ล้านบาท ทำให้ในไตรมาสแรกของปีนี้มีกำไรสุทธิ 1,656 ล้านบาท
“สาเหตุที่ทำให้ยอดสินเชื่อคงค้างลดลง เนื่องจากเป็นช่วงของการชำระคืนเงินกู้ของลูกหนี้รายใหญ่ ทั้งนี้ ในปี 2559 ธนาคารฯ ตั้งเป้าหมายในการขยายสินเชื่อไว้ที่ 6-8% หากไม่รวมสินเชื่อกลุ่มอาชีพ คาดว่าจะขยายตัว 6.6% เงินฝากขยายตัว 4-6% และคาดว่าปีนี้ธนาคารออมสินจะมีกำไรสุทธิประมาณ 17,800 ล้านบาท โดยธนาคารเดินหน้าตามยุทธศาสตร์สู่ GSB New Era: Digital Transformation Banking “มุ่งพัฒนาสังคมไทยทุกระดับสู่ชีวิตดิจิตอล” พร้อมเดินหน้า 4 ภารกิจหลัก เทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์, ช่วยเหลือประชาชนและเศรษฐกิจฐานราก, ส่งเสริมการออม และตอบสนองนโยบายของรัฐบาล” นายชาติชายกล่าว
นายชาติชายกล่าวต่อว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิเคราะห์และวิจัยเชิงลึกแก่หน่วยงานภายในธนาคารออมสิน และใช้เป็นสัญญาณเตือนสำหรับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้รับรู้ปัญหาและแนวทางป้องกัน ตลอดจนเป็นแนวคิดในด้านเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ธนาคารออมสินจึงเปิด “ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจ และเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน” โดยศูนย์วิจัยฯ ดังกล่าวจัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยเชิงลึกด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจ และเศรษฐกิจฐานราก ตลอดจนให้บริการข้อมูลข่าวสารและผลการวิเคราะห์วิจัย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นหน่วยงาน Think Tank ด้านเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ เป็นการสนองนโยบายของรัฐที่ให้ธนาคารออมสินเป็นที่พึ่งของประชาชนฐานราก ซึ่งนายธัชพล กาญจนกูล รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน จะเป็นผู้ดูแลงานในส่วนนี้
ทั้งนี้ ในระยะเริ่มต้น ธนาคารออมสินได้ร่วมมือกับศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพื่อให้เข้ามาช่วยเป็นที่ปรึกษาในการออกแบบและพัฒนาแบบจำลองเศรษฐกิจมหภาครายไตรมาสของธนาคารออมสิน (Government Savings Bank Quarterly Macroeconomic Model: GSB-QMM) เพื่อใช้ติดตามภาวะเศรษฐกิจและธุรกิจ วิเคราะห์ผลกระทบ ตลอดจนพยากรณ์แนวโน้มของเศรษฐกิจและธุรกิจ รวมทั้งใช้ประกอบการจัดทำรายงานต่างๆ เพื่อเผยแพร่ให้กับหน่วยงานภายในธนาคารและประชาชนทั่วไป
ขณะเดียวกันก็ได้ออกแบบและจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจฐานราก (Grassroots Economic Sentiment Index: GSI) ขึ้นมา โดยข้อมูลที่ใช้สร้างดัชนีดังกล่าวได้มาจากการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในระดับฐานรากในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาวะเศรษฐกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต รายได้ที่จะได้รับในอนาคต การออมทั้งในปัจจุบันและอนาคต การก่อหนี้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต และสถานการณ์การจ้างงานและการใช้จ่ายทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้ธนาคารออมสิน ตลอดจนหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ใช้ติดตามภาวะเศรษฐกิจฐานราก และใช้เป็นสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้รับรู้ปัญหา และสามารถหาแนวทางในการป้องกัน/แก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
นอกจากนี้ กิจกรรมสำคัญที่ศูนย์วิจัยฯ วางแผนว่าจะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การประมาณการภาวะเศรษฐกิจมหภาค และจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งจะเผยแพร่ในรูปแบบของการแถลงข่าว พร้อมกับเอกสารเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ นอกจากนั้น ยังจะมีการจัดทำรายงานภาวะเศรษฐกิจและธุรกิจ รายงานภาวะเศรษฐกิจฐานราก รวมทั้งบทวิเคราะห์/บทความ/ผลการสำรวจความคิดเห็น (Poll) ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจฐานราก
ข่าววันที่ : 5 พฤษภาคม 2016
ที่มา : http://thaipublica.org/2016/05/gsb-pracharat-project/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)