วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ออมสินลุยปล่อยสินเชื่อ พ่อค้าแม่ค้า 5 หมื่นบาทต่อราย พักชำระหนี้เงินต้น 3 ปี


     นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ) แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมืองตามแนวทางประชารัฐ ซึ่งปัจจุบันมีถึง 9 ล้านคน

     ทั้งนี้โครงการนี้มีขึ้นเพื่อเป็นการช่วยให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบเพื่อการประกอบอาชีพ และยังช่วยบรรเทาความเดือดร้อนภายในครอบครัว อันเป็นการช่วยลดปัญหาเงินกู้นอกระบบ ซึ่งจะเป็นการยกระดับการดำรงชีพให้มีชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น รวมถึงเป็นการช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพรายย่อยในชุมชนเมืองได้รับความรู้ทางการเงินเพื่อการประกอบอาชีพที่ยังยืนอีกด้วย


สำหรับโครงการนี้จะดำเนินการผ่านธนาคารออมสิน ประกอบด้วยมาตรการจำนวน 3 มาตรการ คือ

มาตรการที่ 1. มาตรการสินเชื่อประชารัฐเพื่อประชาชน

คุณสมบัติผู้กู้ เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อยทั่วไป เช่น พ่อค้า แม่ค้า ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง ผู้ให้บริการรถรับจ้างสาธารณะ กลุ่มแม่บ้านที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือผู้รับจ้างให้บริการทั่วไป ที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 65 ปี และต้องเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้แน่นอน

สำหรับวงเงินให้กู้นั้น จะให้กู้ตามความจำเป็นไม่เกินรายละ 5 หมื่นบาท โดยเมื่อรวมจำนวนเงินกู้คงเหลือตามสัญญาเดิมของสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนทุกประเภท กับจำนวนเงินที่ขอกู้ในครั้งนี้ รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 2 แสนบาทต่อราย

ผู้กู้มีระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ 5 ปี (60 งวด) โดยในปีแรกไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย ส่วนปีที่ 2-5 คิดดอกเบี้ยที่อัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน หลักประกันการกู้เงิน ใช้บุคคลค้ำประกัน หลักทรัพย์เป็นหลักประกัน หรือค้ำประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย) ระยะเวลาโครงการสามารถยื่นขอสินเชื่อภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2559

มาตรการที่ 2. มาตรการประชารัฐเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินประชาชนภายใต้นโยบายรัฐบาล

เป็นมาตรการเฉพาะลูกค้าของธนาคารออมสินเอง ทั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนจากสภาวะทางเศรษฐกิจและภัยธรรมชาติของลูกค้าธนาคารออมสินที่ใช้บริการสินเชื่อ และอยู่ในระหว่างการผ่อนชำระคืนที่มีความประสงค์ขอพักชำระหนี้ชั่วคราว หรือขอขยายระยะเวลาชำระหนี้เพื่อลดภาระรายจ่าย ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

1. พักชำระเงินต้นและชำระเฉพาะดอกเบี้ยได้นานสูงสุดเป็นระยะเวลา 3 ปี
2.ขยายระยะเวลาชำระหนี้เพิ่มได้เท่ากับระยะเวลาพักชำระเงินต้นหรือขยายเวลาการชำระหนี้ได้ 2 เท่าของระยะเวลาคงเหลือตามสัญญาเงินกู้ โดยมีระยะเวลาที่ขยายการชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 20 ปี ตามเงื่อนไขของสินเชื่อแต่ละประเภท

ลูกค้าที่ต้องการใช้บริการนี้สามารถติดต่อขอเข้าร่วมมาตรการภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2559 นี้

โดยทั้ง 2 มาตรการดังกล่าว ธนาคารออมสินไม่ขอรับชดเชยภาระดอกเบี้ยและต้นทุนจากรัฐบาลจึงไม่ส่งผลกระทบต่อภาระงบประมาณของรัฐแต่อย่างใด

มาตาการที่ 3.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาอาชีพ

และสร้างความรู้ทางการเงินแก่ผู้ประกอบอาชีพรายย่อยในชุมชนเมือง วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ก็เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพ และการให้ความรู้ทางการเงินให้แก่ประชาชนฐานรากในพื้นที่ชุมชนเมือง โดยกลุ่มเป้าหมายจะเป็นผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรม จำนวน 150,000 ครอบครัว ครอบครัวละ 1 คน กระจายตามพื้นที่ทุกจังหวัด


โดยหลักสูตรการอบรมประกอบด้วย 2 หลักสูตร ได้แก่

1.การให้ความรู้ทางการเงินแก่บุคคลในครอบครัวของประชาชนฐานรากหัวข้อ การบริหารจัดการการเงินสำหรับครอบครัว เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีมีสุข เพื่ออบรมให้เห็นถึงความสำคัญของการออม การบริหารเงิน การบริหารจัดการหนี้ และภัยการเงินที่ควรรู้

2.การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ หัวข้อ เทคนิคการขาย การบริการเพื่อเพิ่มรายได้

โดยโครงการอบรมนี้มีระยะเวลาในการดำเนินการ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึง ธันวาคม 2559 ใช้งบประมาณ 163 ล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณของธนาคารออมสิน 13 ล้านบาท และรัฐบาลสนับสนุนเพิ่มเติมอีก 150 ล้านบาท

   ทั้งนี้ผู้สนใจ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขาใกล้บ้าน



ที่มา : http://thaifastcash.com/
ข่าววันที่ 3 สิงหาคม 2559

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559

The Gover-Loans

จัดทำโดย

นางสาวคริษฐาปวีย์ ทวีเดชรัตนโชค 5711011804069
นายเจษฎา อ่อนสิ 571011804075
นายอิทธิพัทธ์ จรุงจิต 5711011804079
นายเดชประชา เพ็ชรภูมี 5711011804082
นายกิตติศักดิ์ พุ่มศิริ 5711011804085
นายรังสิมันต์ ยั่งยืน 5711011804096
 
 วัตถุประสงค์
1.เพื่อใช้ในรายวิชาการจัดการสินเชื่อ
2.เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อรัฐบาล
3.เพื่อเผยแพร่ข้อมูลของสินเชื่อรัฐบาลให้กลับกลุ่มคนที่สนใจ

4.เพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจในระบบสินเชื่อรัฐบาล
คำนิยามของสินเชื่อรัฐบาล
        สินเชื่อภาครัฐบาล คือ การที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐบาลตลอดจนรัฐวิสาหกิจกู้ยืมเงินหรือซื้อสินค้า หรือบริการเป็นเงินเชื่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานเพื่อ
สาธารณประโยชน์ตามข้อตกลง เช่น งบประมาณแผ่นดิน ฯลฯ 

การเกิดสินเชื่อรัฐบาล
ซึ่งการเกิดสินเชื่อภาครัฐบาล จะเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้ คือ
1. งบประมาณขาดดุล
2. เป็นการส่งเสริมการลงทุน
3. เป็นการขาดดุลการชำระเงิน
4. ภาวะสงคราม

สินเชื่อภาครัฐบาลควรคำนึงถึง
 

1. ข้อจำกัดในการให้สินเชื่อ   2. แหล่งที่มาของสินเชื่อ 

แหล่งสินเชื่อ 

แหล่งภายในประเทศ
-การออกพันธบัตร
ระยะเวลามากกว่า 10 ปี
-การออกตั๋วเงินคลัง 
ระยะเวลา 3 – 6 เดือน
-การกู้ยืมเงินจากธนาคารแห่งชาติ

แหล่งภายนอกประเทศ
-รัฐบาลออก
กู้เงินจากต่างประเทศโดยการออกพันธบัตรหรือการกู้โดยตรงจากสถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อ หรือ ผู้ซื้อพันธบัตร ได้แก่ ธนาคารโลก องค์การระหว่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ หรือ ประชาชนในต่างประเทศ